จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ระเบียบวิธีการคำนวณสถิติตัวเลขรายได้ประชาชาติและผลผลิต

พื่อให้ทราบว่าตัวรายได้ประชาชาติและผลผลิต คำนวณมาจากอะไร ต้องดูองค์ประกอบอะไรบ้าง
ประโยชน์ของจากการคำนวณรายได้ประชาชาติ
1. รู้ระดับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสถานะเศรษฐกิจของประเทศ ตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงสะท้อนว่าสถานะเศรษฐกิจของประเทศกำลังเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับการทำบัญชีของกิจการต่างๆ เพื่อให้รู้ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสถานะของกิจการ
2. รู้สถานะที่เป็นอยู่ของประเทศว่าเป็นอย่างไร และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นจะอยู่ในสถานะไหนของโลก
• GDP ของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 31 ของโลก
• รายได้ต่อคน ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 105 ของโลก
• เศรษฐกิจอันดับที่ 1 ของโลก คือ อเมริกา, ที่ 2 คือ ญี่ปุ่น, ที่ 3 คือ เยอรมัน, ที่ 4 คือ จีน
มาตรฐาน World Bank (องค์กรเศรษฐกิจโลก) จัดกลุ่มประเทศออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1) High Income Country
2) Upper Middle Income Country
3) Lower Middle Income Country ได้แก่ ประเทศไทย
4) Low Income Country ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน อูกันดา เอธิโอเปีย โซมาเลีย
3. รู้โครงสร้างสำคัญต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจ และดูว่าโครงสร้างที่เป็นอยู่ดีแล้วหรือยัง ถ้าไม่ดีก็ต้องมีการปรับโครงสร้าง โครงสร้างสำคัญ แบ่งเป็น 3 โครงสร้าง ได้แก่
1) โครงสร้างการผลิต
2) โครงสร้างการใช้จ่าย
3) โครงสร้างรายได้
ราย ได้ประชาชาติ (ประชาชาติ หมายถึง คนทั้งประเทศ) คือ รายได้ของคนทั้งประเทศมารวมกัน รายได้ทางเศรษฐศาสตร์ จะต้องเป็นเงินที่ได้รับมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ความหมายที่ 1 หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นมาได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง คิดเป็นปี และเป็นไตรมาส
ความหมายที่ 2 หมายถึง ผลรวมของรายได้ที่บุคคลต่างๆ ได้รับในฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
วิธี การคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติ มาจากมาตรฐานสากลขององค์การสหประชาชาติ UNSNA (United Nation System of National Account = ระบบมาตรฐานบัญชีรายได้ขององค์การสหประชาชาติ) สามารถคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติ ได้ 3 วิธี คือ
1. โครงสร้างการผลิตของประเทศ (Production Approach)
2. โครงสร้างด้านรายจ่ายของประเทศ (Expenditure Approach)
3. โครงสร้างการกระจายตัวของรายได้ (Income Approach)
เรา สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ของทั้ง 3 วิธี ได้ดังนี้ ผลิตปากกาด้ามละ 7 บาท จำนวน 1,000,000 ด้าม มีมูลค่า 7,000,000 บาท (7,000,000 บาท คือ มูลค่าของปากกาที่ผลิตได้ Total Product เรียกว่า Production Approach) ปากกา 1,000,000 ด้ามที่ผลิตได้ จะมีมูลค่า 7 ล้านบาทจริง ก็ต่อเมื่อได้ขายปากกา 1,000,000 ด้ามออกไป ผู้ซื้อต้องจ่ายเงิน 7,000,000 บาท แลกกับปากกา 1,000,000 ด้าม (7,000,000 บาทที่ผู้ซื้อจ่ายเงินเป็นค่าปากกา เรียกว่า Expenditure Approach) และสุดท้าย เงิน 7,000,000 บาทที่ผู้ซื้อจ่ายค่าปากกาก็จะกลายเป็นรายได้ของผู้ผลิต (7,000,000 บาท เรียกว่า Income Approach)
องค์การสหประชาชาติให้ทุกประเทศต้องคำนวณทั้ง 3 วิธี เพื่อ
1. นำตัวเลขที่ได้มาตรวจสอบ Cross Check กันในแต่ละวิธี ว่าตัวเลขเชื่อถือได้หรือไม่ เช่น ผลิตได้ 100 แต่รายได้มี 500 เป็นต้น
2. การคำนวณทั้ง 3 วิธีทำให้รู้โครงสร้างของประเทศทั้ง 3 ด้าน
วิธี Production Approach ทำให้รู้โครงสร้างการผลิต ว่าการผลิตของประเทศอยู่ในภาวะที่เหมาะสมหรือไม่
วิธี Expenditure Approach ทำให้รู้โครงสร้างการใช้จ่าย
วิธี Income Approach ทำให้รู้โครงสร้างรายได้
การคำนวณด้วยวิธี Production Approach
เป็น วิธีที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ในแต่ละรอบเวลา ซึ่งวิธีนี้ถือว่าไม่ Practical เพราะในความเป็นจริงเวลามีการซื้อขายสินค้า ไม่มีการระบุว่าสินค้าที่ซื้อไป เพื่อไปเป็น Final Product หรือ Intermediate Product จึงไม่สามารถแยกแยะได้ เมื่อนับรวมทั้งหมด จึงมีโอกาสนับซ้ำหลายๆ ครั้ง ทำให้เกิดตัวเลขที่ over
Final Product (สินค้าขั้นสุดท้าย) คือ สินค้าที่อยู่ในมือของผู้บริโภคคนสุดท้ายแล้ว เพื่อนำไปกินไปใช้
Intermediate Product (สินค้าชั้นกลาง) คือ สินค้าที่อยู่ในมือของผู้ผลิต เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ
ใน บางครั้งสินค้าอย่างเดียวกันแต่ก็เป็นได้ทั้ง Final Product และ Intermediate Product เช่น ชาวบ้านซื้อข้าวเหนียวไปหุงกินที่บ้าน ข้าวเหนียวถือว่าเป็น Final Product ในขณะที่โรงงานแป้งข้าวเหนียวซื้อข้าวเหนียวไปบดเป็นแป้งขาย ข้าวเหนียวถือว่าเป็น Intermediate Product
ตัวอย่าง เกษตรกรเลี้ยงเป็ดไว้ขาย ขายออกจากเล้าไป 200 บาท คนที่ซื้อก็ซื้อไปขายในราคา 250 บาท คนที่ซื้อก็นำไปเชือดพร้อมถอนขนแล้วขายในราคา 300 บาท คนที่ซื้อนำไปทำเป็ดพะโล้ขายในราคา 400 บาท คนขายข้าวเป็ดพะโล้นำไปสับขายได้ 600 บาท ถ้านับราคารวมทั้งหมด 200+250+300+400+600 ก็จะทำให้ราคาเป็ดสูงเกินไป สรุปว่ามูลค่าของเป็ดนับที่ 600 บาท เนื่องจากเป็นราคาสุดท้าย แต่ในโลกความเป็นจริงเราไม่ทราบว่าสุดท้ายที่ตรงไหน เพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำๆ จึงให้คำนวณด้วยวิธี Value Added เริ่มต้นจากไม่มีเป็ดจนมีเป็ด 1 ตัว ใช้วิธีบวกเพิ่ม 200+50+50+100+200 = 600 บาท ปัจจุบันทุกประเทศก็ใช้วิธี Value Added ของทุกขั้นตอนเป็นมาตรฐานในการคำนวณ เพื่อป้องกันการนับซ้ำ


(ดูตาราง 80 ในหนังสือหน้า 16 ประกอบ)
ตารางอธิบายถึงบัญชีรายได้ประชาชาติของประเทศไทยที่คำนวณจากวิธี Production Approach คำนวณจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการทุกชนิด
สินค้า และบริการในประเทศไทยแบ่งเป็น 16 กลุ่ม ซึ่งเป็นภาคการเกษตร 2 กลุ่ม และ ไม่ใช่ภาคการเกษตร 14 กลุ่ม (มาตราฐานสากล องค์กรระหว่างประเทศ จำแนกสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ ไม่เกิน 17 กลุ่ม แสดงว่ามี 1 กลุ่ม ประเทศไทยไม่ได้นำมาใช้)
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการสำรวจตัวเลข คือ สภาพัฒน์ (NESDB) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (National Economic and Social Development Board) www.nesdb.go.th
จาก ตารางจะเห็นได้ว่าในหลายปีที่ผ่านมานี้ มูลค่าของผลผลิตภาคเกษตร คิดเป็น Market Share ใน GDP ประมาณ 10% และสินค้าที่ไม่ใช้ภาคการเกษตร คิดเป็น Market Share ใน GDP ประมาณ 90% แสดงว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรม เพราะรายได้หลักของประเทศไม่ได้มาจากการเกษตร
ประโยชน์ของการเรียนที่ ว่าทำให้ทราบโครงสร้างการผลิตของประเทศ แบ่งเป็น 16 กลุ่ม ซึ่งเป็นภาคการเกษตร 2 กลุ่ม และ ไม่ใช่ภาคการเกษตร 14 กลุ่ม ปัจจุบันกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ 6. Manufacturing และ กลุ่มที่เล็กที่สุดคือ 18. Private Households with employed persons ซึ่งเป็นการคิดมูลค่าจากการทำงานบ้านด้วยตนเองโดยไม่ได้จ้างคนงาน
จาก ตาราง ถ้าคิดว่าเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง ประชากรในประเทศมีความสุขมาก ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าคิดว่าโครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง ก็ต้องมีการปรับโครงสร้างเพิ่ม-ลด ปัญหาที่พบคือ การไม่รู้ว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร วิธีการคือ ดูจาก 1.ประเทศไทยมีประชากรกี่คน 2.ประชากรที่อยู่ในภาคการเกษตรกี่คนและไม่ใช่ภาคการเกษตรกี่คน ปัจจุบันมีคนที่อยู่ในภาคที่ไม่ใช่การเกษตรมากกว่าภาคการเกษตรเพียงเล็กน้อย อัตราส่วนประมาณ 52 : 48 แต่คนที่อยู่ภาคการเกษตรมีรายได้เพียง 10% และคนที่อยู่ภาคที่ไม่ใช่การเกษตรมีรายได้ 90% แสดงว่า เกษตรกรจนกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเกษตรกร เราจะปรับโครงสร้างของประเทศอย่างไรให้ประชากรทุกคนอยู่ดีมีสุข
สาเหตุที่ Net Factor Income From Abroad ในหลายปีที่ผ่านมาติดลบ เนื่องจาก
1. คนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น แล้วได้ส่วนเกินที่เป็นกำไรจากการลงทุน เล่นหุ้น กลับไปประเทศตัวเองมาก
2. พฤติกรรมคนไทยเปลี่ยนไป ไม่ทำงานในหลายด้าน จนต้องมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ
GDP โตขึ้น ขยายตัว แสดงว่าประเทศผลิตสินค้าได้มากขึ้น ถ้า GDP น้อยลง แสดงว่าประเทศผลิตสินค้าได้น้อยลง ทฤษฎีที่เรียนอยู่ เรียกว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม หรือ ทฤษฏีกระแสหลัก วัดความสุขของประชากรจากปริมาณโภคทรัพย์ที่ได้กินได้ใช้ มีของให้กินให้ใช้มากก็สุขมาก



การคำนวณด้วยวิธี Expenditure Approach
วิธี Expenditure Approach เป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติจากด้านรายจ่าย
วิธี Production Approach เป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติจากจาก Value Added ของ 16 อุตสาหกรรมมารวมกัน


Ca เรียกว่า C subscript a หมายถึง ค่าของ C, I, G, X, M เป็น Actual Value
Actual value หมายถึง ค่าของตัวเลขจริงๆ ที่เกิดขึ้นและจบไปแล้ว เช่น ค่า GDP ของไตรมาสที่ผ่านมา ถ้าเก็บมาผิดก็ต้องกลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง
Desired value, Intended value, Planed value หมายถึง ค่าของตัวเลขที่คาดว่าจะเกิด อยากจะให้เกิด อยากจะให้เป็น
C = Private Consumption Expenditure
รายจ่ายในการอุปโภค(ใช้) และบริโภค(กิน) ของประชากรทั้งประเทศ
I = Gross Private Investment Expenditure
ราย จ่ายเบื้องต้นในการลงทุนของภาคเอกชน (ยังไม่ได้หักโรงงานที่ไฟไหม้, สิบล้อที่เสีย, ค่าเสื่อมราคา ถ้าหักแล้ว จะเรียกว่า Net Private Investment Expenditure)
การลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง 3 เรื่อง
1. ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการก่อสร้างอาคารใหม่ (Construction)
2. ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการประกอบเครื่องจักรใหม่ ซื้อเครื่องจักรใหม่ (Machine)
3. ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการผลิตสินค้าคงคลัง สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วเก็บไว้ในสต๊อคสินค้า ยังไม่ได้จำหน่าย (Inventory)
G = General Government Expenditure on Consumption and Investment
ราย จ่ายของภาครัฐบาลทั้งจ่ายสิ้นเปลือง (เงินเดือนข้าราชการ ซื้อกระดาษ หมึก) และ การลงทุน (สร้างถนน ท่าเรือ ซื้อเครื่องจักร สร้างโรงงาน)
X = Export of Goods and Services
มูลค่าของสินค้าและบริการที่ส่งออก
M = Import of Goods and Services
มูลค่าของสินค้าและบริการที่นำเข้า
ถ้านำ X – M = Net Export
วิธีที่ 1 และ 2 ตามหลักการควรจะเท่ากัน แต่ในความเป็นจริงมีผิดพลาดได้นิดหน่อย



(ดูตาราง 81 ในหนังสือหน้า 22 ประกอบ)
Ca = Consumption expenditure - Private (ข้อ2) 3,687.6
Ia = Gross fixed capital formation - Private sector (ข้อ5) 1,253.0
บวก Change in inventories (ข้อ11) 75.0 1,328.0
Ga = Consumption expenditure - Government (ข้อ3) 721.3
บวก Gross fixed capital formation - Public sector (ข้อ8) 433.8 1,155.1
Xa = Exports of goods and services (ข้อ13) 4,587.9
Ma = Imports of goods and services (ข้อ15) (4,281.9)
Expenditure on gross domestic product (GDP ก่อนปรับด้วยค่าผิดพลาดคาดเคลื่อน) 6,476.7
จากตารางนี้จะเห็นได้ว่า Ca = 3,687 Ia = 1,328 Ga = 1,155 Xa = 4,587 Ma = 4,281
X เป็น 70% ใน GDP และ M เป็น 66% ใน GDP
แสดงว่า GDP ของประเทศไทยจะเติบโตมากน้อยเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับตัว X การส่งออก และ M การนำเข้า ซึ่งมีน้ำหนักมากที่สุด ตามด้วย C , I , G ตามลำดับ I และ G มีน้ำหนักน้อยมาก
ลักษณะโครงสร้างแบบนี้ในภาษาวิชาการเรียกว่า “โครงสร้างเศรษฐกิจแบบเปิด” (Open Economic) เป็นลักษณะเศรษฐกิจที่มีโครงสร้างภาคต่างประเทศใหญ่ Dominate GDP หรือเรียกอีกอย่างว่า “เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตลาดโลก” คือ ถ้าค่า X มากกว่าค่า M จะเกินดุล ทำให้ GDP เพิ่มขึ้น แต่ถ้าค่า X น้อยกว่าค่า M จะขาดดุล ทำให้ GDP ลดลง
ถาม โครงสร้างแบบนี้ดีหรือไม่
ตอบ โครงสร้างแบบนี้เป็นโครงสร้างแบบดูแลตัวเองไม่ได้ เพราะเอาขาผูกกับตลาดโลก
ถ้าเศรษฐกิจของอเมริกา,ญี่ปุ่นดี การส่งออกของไทยก็ดีด้วย แต่ถ้าเศรษฐกิจของอเมริกา,ญี่ปุ่นแย่ ก็แย่ด้วย
ถ้าต้องการเปลี่ยนให้เป็นโครงสร้างแบบพึ่งพาตัวเองได้ (พึ่งพิงใน Domestic) ต้องปรับโครงสร้างใหม่
โดย เพิ่ม C และ I ให้มากขึ้น ถ้าเพิ่ม C ต้องทำให้ประชากรมีเงิน มีรายได้เพิ่มขึ้น ต้องให้ประชากรมีรายได้อย่างยั่งยืน เมื่อประชากรมีเงิน เศรษฐกิจก็ขับเคลื่อน มีความต้องการซื้อ (Demand) I ก็จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ โดยขยายการผลิต การลงทุน การจ้างงาน ต้องทำให้ C เพิ่ม แล้ว I จะเพิ่มขึ้นเอง
ถ้า เพิ่ม G ให้โตขึ้น ต่อไปรัฐบาลก็จะมีภาระมากขึ้น และต้องมาจัดเก็บภาษีมากขึ้น ประชากรก็เดือดร้อน จึงไม่เพิ่มตัวนี้
จากสมการ GDP = Ca+ Ia+ Ga+ Xa - Ma
จะเห็นได้ว่าในองค์ประกอบ 5 ตัว คือ C, I, G, X, M
C, I, G, X มีสัมประสิทธิ์เป็นบวกทั้งหมด ส่วน M มีสัมประสิทธิ์เป็นลบ
นั่นหมายถึง ถ้า C, I, G, X มากขึ้น จะทำให้ GDP มีค่ามากขึ้น และ ถ้า M มากขึ้น จะทำให้ GDP ลดลง
เพราะ M เป็นตัวลบ (M คือ การนำเข้า ถ้าสั่งซื้อมาก ก็ทำให้เงินไปเข้าประเทศอื่นมากขึ้น)
การคำนวณด้วยวิธี Income Approach
วิธี Income Approach เป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติจากด้านรายได้
วิธี Expenditure Approach เป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติจากด้านรายจ่าย
วิธี Production Approach เป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติจาก Value Added ของ 16 อุตสาหกรรมมารวมกัน
รายได้มาจากปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ
ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต ได้แก่ ค่าเช่า มาจาก ที่ดิน
ค่าจ้าง มาจาก แรงงาน
ดอกเบี้ยและกำไร มาจาก ทุน









Disposable Personal Income หรือ Disposable Income คือ การคำนวณหารายได้สุทธิส่วนบุคคล โดยนำ GNP + เงินโอนของรัฐบาล+ดอกเบี้ยที่จ่ายโดยรัฐบาล - ภาษี
ตัวเลขรายได้ประชาชาติทั้งหลายมีวิธีคำนวณมาจาก 2 ฐานราคา
1. คำนวณตามราคาประจำปี Current Market Price หรือเรียกอีกอย่างว่า Nominal ราคาที่คำนวณตามราคาตลาด
2. คำนวณจากราคาปีฐาน หรือเรียกอีกอย่างว่า Real เนื่องมาจากมูลค่า GDP อาจเพิ่มหรือลด เพราะมูลค่าสินค้าเปลี่ยน ซึ่งจะทำให้เกิด Money illusion ภาพลวงตาทางการเงิน
ตัวอย่าง ในปี 2507 ประเทศหนึ่งเลี้ยงเป็ด 100 ตัว ตัวละ 100 บาท GDP=10,000 บาท ต่อมาในปี 2548 เกิดภาวะเงินเฟ้อ เป็ดตัวละ 200 บาท แต่ประเทศนี้เลี้ยงเป็ดได้เพียง 70 ตัว GDP=200x70=14,000 บาท จะเห็นได้ว่า GDP โตขึ้นจาก 10,000 เป็น 14,000 บาท เพราะภาวะเงินเฟ้อ เป็ดแพงขึ้น เกิด Money illusion ประชากรมีกินน้อยลง ผลิตได้น้อยลง เพราะฉะนั้นจึงต้องเปรียบเทียบบนฐานราคาเดียวกันเพื่อให้เห็นความจริง ขจัดภาพลวงตาทางการเงิน Money illusion
สาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้ประชาชาติแท้จริง (Real GDP) เพิ่มขึ้น
Real GDP เพิ่มขึ้น หมายความว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มาจากราคา แต่มาจากสินค้าบริการที่เพิ่มมากขึ้น
1. การที่ประเทศจะมีผลผลิต (Out Put) มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยการผลิต (In Put) ซึ่งได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ แต่เฉพาะที่ดิน แรงงาน ทุน ที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้
สรุปคือ การที่จะผลิตได้มาก ต้องมีปัจจัยการผลิตมาก
2. ไม่ต้องเพิ่ม In Put แต่ทำ In Put ให้เก่งกว่าเดิม เน้นที่ การเพิ่ม Productivity ของ In Put
In Put ตัวสำคัญที่จะ Productive คือ ที่ดิน แรงงาน ทุน
ตัวอย่าง ที่ดิน 1 ไร่ เดิมปลูกข้าวได้ 100 ถัง ก็ทำให้ปลูกข้าวได้ 200 300 ถัง
การ ฝึกอบรมให้คนงาน เพื่อให้คนงานมีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการผลิตจนสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ถือเป็นการเพิ่ม Productivity ให้แรงงาน
เราสามารถเพิ่ม Productivity ได้ โดย
• การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เกิด Specialization ทำให้เกิด Productivity สูงขึ้น โดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิม Out Put มากขึ้น
• ตัวการที่ทำให้ Productivity สูงขึ้นเรื่อยๆ คือ เทคโนโลยี
การกู้ยืมทรัพยากร ก็ทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นแบบไม่ยั่งยืน
กิจกรรมที่ไม่นับรวมในรายได้ประชาชาติ
1. กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ผลประโยชน์ที่ได้ไม่เข้าส่วนกลาง เช่น การพนัน โสเภณี และการค้ายาเสพติด
2. กิจกรรมที่ไม่ได้บันทึก ผลผลิตถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่มีการบันทึก เพื่อเลี่ยงภาษี
3. กิจกรรมนอกตลาด เช่น การปลูกผัก เลี้ยงไก่ไว้กินเอง การทำงานบ้านเพื่อตนเอง งานอาสาสมัครต่างๆ
4. ผลเสียที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ จากแนวคิดที่ว่า ทุกครั้งที่มีการผลิตสินค้า ก่อให้เกิดผลเสียตามมาด้วย เช่น มลภาวะเป็นพิษ

by http://mbaru.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น